ประโยชน์ของกล้วยหอม ( Cavendish Banana )

0
6178
กล้วยหอม
กล้วยหอมมีน้ำตาลธรรมชาติที่เพิ่มพลังงานให้ร่างกาย มีใยอาหารและกากอาหารรวมทั้งวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายนานาชนิด

กล้วยหอม

กล้วยหอม

กล้วยหอม ( Cavendish Banana) คือ ผลไม้เขตร้อนที่มีรสชาติหวานเย็นเหมือนเนื้อครีม จัดเป็นไม้ล้มลุก มีอยู่หลายสายพันธุ์ ซึ่งพันธุ์นิยมปลูกคือกล้วยหอมคาเวนดิชหรือหอมเขียว จัดเป็นผลไม้ที่เต็มไปด้วยคุณค่า ทางโภชนาการ ประกอบไปด้วย วิตามิน ใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย สารแทนนินที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ Escherichia Coil สำหรับประเทศไทยนั้นสามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศ จึงจัดเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมในเป็นอย่างมาก

ประโยชน์

1. ใยอาหารในกล้วยช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้เป็นอย่างดี ใยอาหารเป็นเพคตินเหมือนที่มีอยู่ในแอปเปิ้ล

2. มีโพแทสเซียมสูงช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต เพราะว่าในผลขนาดกลางหนึ่งผลมีโพแทสเซียมอยู่ถึง 450 มิลลิกรัม

3. ไฟเบอร์ในกล้วยช่วยในการควบคุมความดันโลหิตสูง ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง

4. อุดมไปด้วยวิตามินบี 6 ที่มีบทบาทในการลดระดับโฮโมซีสทีนในเลือด ไม่ให้สูงจนทำให้เส้นเลือดตีบและอุดตันได้

5. พลังงาน110 แคลอรี่ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก

คำเตือน ถ้ารับประทานเป็นประจำทำให้ร่างกายได้รับโพแทสเซียมและไฟเบอร์ในปริมาณที่สูง จนเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตต่ำ

การรับประทานร่วมกับผลไม้ชนิดอื่น เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ส้ม แอปเปิ้ล สามารถช่วยควบคุมน้ำหนักได้ดี

ลักษณะทั่วไป

1. ราก เป็นแบบ Adventitious Root ซึ่งแตกออกจากหน่อกล้วย หน่อกล้วยนี้จะแตกออกมาจากเหง้า รากมีความยาวได้มากกว่า 5 เมตร และสามารถแทงลงดินได้ลึกถึง 5 – 7.5 เมตร
2. ลำต้น  มีลำต้นจริงมีลักษณะเป็นหัวหรือที่เรียกว่าเหง้าอยู่ใต้ดินและมีลำต้นเหนือดินสูง 2.5 – 3.5 เมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร กาบของลำต้นด้านนอกมีสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ กาบด้านในมีสีเขียวอ่อน ลักษณะพิเศษของกาบ คือกาบด้านในสีเขียวจะมีเส้นลายสีชมพู
3. ใบ มีใบเดี่ยวแบบขนาน ก้านใบมีร่องตรงกลางขนาดกว้างสีเขียวอ่อน ใบมีความยาวสูงสุดประมาณ 3 เมตร
4. ดอกกล้วย หรือหัวปลี จะมีสีแดงอมม่วงด้านบนด้านในมีสีแดงซีด ภายในดอกมีไข่และน้ำบรรจุอยู่ ดอกจะแทงออกจากตรงกลางของปลายยอด โดยจะแทงตั้งตรงออกมาจากยอดในช่วงแรกและจะค่อยๆน้อมดอกลงด้านล่างเมื่อมีอายุมากขึ้น ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าในช่วงแรกดอกมีน้ำหนักเบาจึงแทงตั้งตรง เมื่อมีอายุมากขึ้นน้ำหนักของดอกเพิ่มมากขึ้นจึงเกิดการโน้มตัวลงด้านล่าง
5. ผล ติดเป็นเครือ เครือหนึ่งมี 4-6 หวีขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของลำต้น ในหนึ่งหวีจะมีผลกล้วย 12-16 หวี หวีมีขนาดกว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 21-25 เซนติเมตร ส่วนปลายของผลจะมีจุกสีดำเด่นชัด ผลเปลือกบางเมื่อเทียบกับกล้วยน้ำหว้า ผลดิบมีสีเขียวและผลที่ยังไม่แก่จัดจุกส่วนปลายจะมีเขียวแต่เมื่อผลแก่จัดจะมีสีเหลืองทองทั้งลูก เนื้อมีสีขาวขุ่น กลิ่นคาว รสชาติหวานฉ่ำเมื่อสุก

การขยายพันธุ์

กล้วยเป็นพืชที่ปลูกได้ง่ายในสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย คนไทยนิยมปลูกทั่วทุกภาคของประเทศไทย เป็นพืชที่ชอบน้ำแต่ไม่ชอบอยู่ในดินที่น้ำขัง จึงเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนชื้นและดินเหนี่ยวที่อุ้มน้ำไว้แต่ไม่มีน้ำขัง สามารถขยายพันธุ์ด้วยการนำหน่อหรือเหง้าที่อยู่ใต้ดินไปปลูก

ประโยชน์ทางยา

ประโยชน์ของกล้วยใช้เป็นยาและอาหาร นอกจากจะมีวิตามินและสารอาหารที่เป็นประโยชน์แล้ว ส่วนต่างๆของต้นก็ยังมีประโยชน์หลายอย่าง คือ

1. ประโยชน์ของกล้วย ผลดิบ กินเพื่อบรรเทาอาการท้องเสีย ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหารด้วยการนำเนื้อกล้วยดิบไปตากแห้งแล้วนำมาผสมน้ำกิน
2. ประโยชน์ของกล้วย ผลสุก กินเพื่อบรรเทาอาการท้องผูก ลดอาการปวดท้องประจำเดือนในสุภาพสตรี แก้อาการเมาค้าง กินตอนเช้าเพื่อกระตุ้นให้สมองเกิดการตื่นตัวพร้อมที่จะทำงานในตอนเช้า สำหรับคนที่มีอาหารแพ้ท้องแนะนำให้กิน 1-2 คำ ระหว่างมื้ออาหาร
3. ประโยชน์ของกล้วย ราก นำรากมาต้มน้ำดื่ม สามารถช่วยบรรเทาอาหารปวดฟันได้
4. ประโยชน์ของกล้วย เปลือก นำเปลือกด้านในมาทาบริเวณที่คันหรือบวมช่วยบรรเทาอาการบวมคันได้ หรือนำเปลือกมาต้นน้ำดื่มช่วยลดอาการซึมเศร้าในคนที่เป็นโรคซึมเศร้าได้ นอกจากนี้เมื่อนำด้านในของเปลือกมาถูบริเวณที่ผิวหยาบกร้าน ทิ้งไว้ 15-20 นาทีแล้วล้างออก จะพบว่าความหยาบกร้านของผิวบริเวณนั้นจะหายไป เพราะว่าเปลือกกล้วยจะเข้าไปเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิว

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Armstrong, Wayne P. “Identification Of Major Fruit Types”. Wayne’s Word: An On-Line Textbook of Natural History. Archived from the original on November 20, 2011. Retrieved 2013-08-17.

“Banana from ‘Fruits of Warm Climates’ by Julia Morton”. Hort.purdue.edu. Archived from the original on 2009-04-15.